วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2563
เวลา 12.30-16.30


ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้ เรียนเกี่ยวกับเรื่อง STEM และหลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้จับคู่ทำงาน เกี่ยวกับการทดลอง วิชา วิทยาศาสตร์และให้ส่งไฟลืเข้าไปในเฟสบุ๊ค 

STEM คือ

    เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนการของทั้ง 4 สาระ อันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ ละสาระวิชาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนมาผสมผสานกันเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญและจำเป็น


Science(วิทยาศาสตร์) จะเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (InquiryProcess) ที่จะประกอบด้วยขั้นตอน 
  1. ขั้นการสร้างความสนใจ เป็นขั้นของการนำเข้าสู่บทเรียน  
  2. ขั้นสำรวจและการค้นหา  
  3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป   
  4. ขั้นขยายความรู้ เป็นการนำความรู้มาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม ขึ้น 


  5. ขั้นการประเมิน เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่าผู้เรียนได้เกิดการ เรียนรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด

เทคโนโลยี (Technology) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2557) ระบุขั้นตอนในกระบวนการทางเทคโนโลยีประกอบด้วย 7 ขั้นดังนี้ 
  1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ 
  2. รวบรวมข้อมูล โดยอาจจะรวบรวมข้อมูลจากตำรา วารสาร บทความ อินเทอร์เน็ต 
  3. เลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการแก้ปัญหา 
  4. ออกแบบและปฏิบัติการ 
  5. ทดสอบ เป็นการตรวจสอบว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ 
  6. ปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นจะปรับแก้ไขส่วนใด 
  7. ประเมินผล เป็นการประเมินผลว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่

วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)  กระบวนการออกแบบของวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 
  1.กำหนดปัญหา หรือความต้องการ 
  2.หาแนวทางการแก้ปัญหา 
  3.ลงมือปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหา 
  4.ทดสอบและประเมินผล

คณิตศาสตร์ (Mathematics)  สำหรับสาระและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์จะครอบคลุมเรื่องจำนวนและกระบวนการ การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น และ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์



รูปในการเรียน

ในภาพอาจจะมี 6 คน, รวมถึง Jintana Suksumran


ในภาพอาจจะมี 5 คน, ข้อความ


กิจกรรมวิทยาศาสตร์คู่ 















ประเมินอาจารย์ : เนื้อหาน่าสนใจ มีการกระตุ้นนักศึกษาให้ตอบคำถาม อธิบายงานได้เข้าใจมีตัวอย่างให้ดู
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
ประเมินตนเอง : มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งงานตรงเวลา






วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2563
เวลา 12.30-16.30

ความรู้ที่ได้รับ

สัปดาห์นี้เป็นการเรียนทาง ออนไลน์ เนื่องทางติดสถานการณ์ COVID - 19 ทางมหาวิทยาลัยจึงมีการให้เรียนออนไลน์

วันนี้เรียนเกี่ยวกับเนื้อหาคำคล้องจอง โดยอาจารย์ให้เเบ่งกลุ่ม 3 คนทำงาน ตามที่กำหนดให้


งานเเรก นิทาน



งานที่ สอง เเต่งคำคล้องจอง



งานที่ สาม ปริศนาคำทาย



งานที่ สี่ กิจกรรมส่งเสริมการฟัง





ประเมินอาจารย์ : มีการเอาใจใส่นักศึกษา ให้คำแนะนะ คำปรึกษา สื่อการสอนน่าสนใจดึงดูด
ประเมินเพื่อน : สนใจเรียน มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
ประเมินตนเอง : สนใจเรียน จดบันทึกสิ่งที่สำคัญ









วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2563
เวลา 12.30-16.30


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์ โดยอาจารย์เปิดเพลง พรจากฟ้าที่มีท่าทาง และให้นักศึกษาไปคิดท่าทางเเต่ล่ะกลุ่ม โดยให้ใช้เพลง ปฐมวัยมาเเล้ว

เนื้อเพลง ปฐมวัยมาเเล้ว

ปฐมวัยมาเเล้ว       มาเเล้วปฐมวัยน้องพี่
ไหน ไหน ไหน             ปฐมวัยน้องพี่
            ปฐมวัยน้องพี่ไม่มีราวร้าน            โลหิตสายเดียวกลมเกลียวกันให้นาน
อย่าให้เเตกเเยกกันเป็นสายธาร       อย่าให้เเตกเเยกกันเป็นสายธารา




ประเมินอาจารย์ : เนื้อหาน่าสนใจ มีกิจกรรมให้ทำมากมาย สอนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงาน เข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินตนเอง :ตั้งใจในการทำงาน แต่งกายสุภาพ