วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563
เวลา 12.30-16.30


ความรู้ที่ได้รับ


สัปดาห์นี้ เรียนเรื่อง การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์


“การเล่นเพื่อการพัฒนาเด็ก”
การเล่นเป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่งสำหรับเด็ก เพราะการเล่นเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเด็กการเล่นเป็นธรรมชาติของเด็ก
และเป็นโอกาสที่เด็กจะได้เรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ ได้ด้วยตนเองการเล่นนอกจากจะเป็นธรรมชาติของเด็กแล้วยังเป็นกิจกรรม
ที่ให้ความสุขสนุกสนานเพลิดเพลินแก่เด็ก โดยไม่มีการบังคับใดๆ ทั้งนั้น ยังเป็นวิธีการหรือแนวทางที่จะช่วยให้เด็กสามารถปรับตัวและ
เปลี่ยนแปลงความคิดความเข้าใจสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงรอบๆ ตัว ให้เป็นผู้ที่มีความสามารถที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
การเล่นพัฒนาเด็กอย่างไร เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การเล่นให้คุณค่าและเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีสำหรับเด็ก เช่น ถ้าเราสังเกตการเล่นน้ำ
เล่นทราย การเล่นต่อบล็อก การเล่นตามมุมประสบการณ์ต่างๆ ฯลฯ จะเห็นว่า เด็กจะตั้งใจเล่นอย่างขะมักเขม้น มีสมาธิในการเล่นและมีโลกส่วนตัว
ดังนั้น การเล่นจึงเป็นชีวิตจิตใจของเด็ก เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆ ทั้งตามธรรมชาติและมีเครื่องเล่นทางการศึกษาเข้าช่วยนักการศึกษาและครูสาขาการปฐมวัยศึกษา
มีความเห็นตรงกันว่า \"การเล่น\" เป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ที่ไม่มีใครสามารถเสนอให้รู้ได้ เพราะเด็กได้สืบค้นด้วยตัวเอง
ได้พาตัวเองให้รู้จักโลกที่แท้จริง ได้รู้จักเวลาสถานที่ สิ่งของ สัตว์ รูปทรงต่าง ๆ และมนุษย์ กล่าวโดยสรุปก็คือ\"การเล่นคืองานของเด็ก\"
การเล่นสิ่งที่เด็กพอใจ สุขใจ ได้สนุก ร่าเริง และนี่คือสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดสำคัญสำหรับเด็ก เด็กแต่ละคนจะมีวิธีการเล่นซึ่งพัฒนามาจากขั้นตอนการเล่น
ซึ่งเรียกว่า พฤติกรรมการเล่น การเล่นของเด็กอาจเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ และความพร้อมของเด็ก ซึ่งสามารถแบ่งพฤติกรรมการเล่นของเด็กได้แบบ ดังนี้
1.การเล่นเลียนแบบ (Imitation) การเล่นเลียนแบบเป็นการสะท้อนให้ผู้อื่นเห็นและทราบถึงการรับรู้สิ่งแวดล้อมต่างๆ ของเด็ก
2.การเล่นสำรวจ (Exploration) 
3.การเล่นทดสอบ (Testing) 
4.การเล่นสร้าง (Construction) 
ความต้องการของเด็ก และช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ  ตลอดจนการเรียนรู้ทางด้านจริยธรรม และช่วยให้เด็กได้รับความสนุกสนาน เด็กทุกคนจะเล่นทุกอย่างที่เขาพอใจ การเล่นจึงมีบทบาทและอิทธิพลต่อการพัฒนาการด้านต่างๆ สำหรับเด็ก ดังนี้
1.การเล่นกับการพัฒนาการด้านร่างกาย การเล่นช่วยพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก ได้แก่ มือ นิ้ว มือ ประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือ กับตา ดังนั้น จึงควรจัดของ
2.การเล่นกับการพัฒนาการด้านสังคม การเล่นสอนให้เด็กมีเหตุผล รู้วิธีเล่นร่วมกับผู้อื่น หรือการอยู่ ร่วมกับผู้อื่น มีการให้อภัย ฝึกการให้รู้จักความสามัคคีทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม รู้จักเสียสละ 
4.การเล่นช่วยให้เด็กได้เข้าใจธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ถ้าโรงเรียนมีต้นไม้ให้เด็กสังเกต เช่น สังเกต  พืช และสัตว์
5.การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เช่น การเล่นบล็อก การเล่นสรรค์สร้าง ซึ่งเป็นการเล่นที่เปิดโอกาส


ภาพกิจกรรม




ประเมินอาจารย์ : เนื้อหาที่สอนน่าสนใจ มีการยกตัวอยางให้เห็นภาพ มีการแนะนำ
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียน และตั้งใจทำงาน เข้าเรียนตรงเวลา มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำงาน มุ่งมั่นในการทำงาน







วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563
เวลา 12.30-16.30


ความรู้ที่ได้รับ

      อาจารย์พูดถึงเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ว่่ามีกระบวนการแก้ปัญหาอย่างไรบ้างและ ให้ทำกิจกรรม 3 กิจกรรม คือ วาดต่อเติม เเบ่งกลุ่มทำสร้างสรรค์เรือ สร้างสรรค์แม่ย่านางบนเรือโดยใช้กระดาษหนังสือพิมพ์

การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เป็นแนวทางการแก้ปัญหาวิธีหนึ่ง ซึ่งได้ผ่านการศึกษาและวิจัยมา เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่อิงกับสาระการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยฝึกให้นักเรียนได้ทำความเข้าใจกับปัญหา ฝึกการมองปัญหาโดยใช้ทั้งความรู้สึก และมุ่งแก้ปัญหา ทำให้การดำเนินการแก้ปัญหามีประสิทธิภาพ จึงน่าจะเป็นแนวทางให้ครูได้ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และการเรียนรู้ต่อไป

ขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

ขั้นที่ 1 การเข้าถึงปัญหา 
ขั้นที่ 2 การคิดวิธีการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 3 การเลือกและเตรียมการ 
ขั้นที่ 4 การวางแผนการแก้ปัญหา 
ขั้นที่ 5 การลงมือปฏิบัติ 

บรรยากาศในการเรียน


วาดภาพต่อเติม


สร้างเรือตามจินตนาการ




เเต่งตั้งเเม่ย่านางประจำเรือ






ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมให้ทำหลากหลาย น่าสนใจและสามารถไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้
ประเมินเพื่อน : แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา สนใจในการเรียนและการทำกิจกรรม
ประเมินตนเอง : มีความตื่นเต้นที่ได้ทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมา ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย