วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2563
เวลา 12.30-16.30

ความรู้ที่ได้รับ

การเรียนการสอนวันนี้ 

คุณลักษณะทางความคิดสร้างสรรค์ของครูปฐมวัย

1. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก

2. เป็นแหล่งความรู้และมีความรอบรู้ครูที่มีความคิดสร้างสรรค์ควรเป็นศึกษาค้นคว้าสำรวจสิ่งต่างๆอย่างกว้างขวาง

3. ความสนใจรอบด้านครูที่มีความคิดสร้างสรรค์ควรมีความสนใจกว้างด้านสนใจกิจกรรมต่างๆหลายๆอย่างและไม่ชอบทำอะไรซ้ำๆ

การสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

 1. จัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้แบบระดมพลังสมอง

 2. ให้เด็กเรียนรู้การสร้างสรรค์โดยการลงมือปฏิบัติจริงเน้นการสร้างสภาวะสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดการตอบสนองหลายรูปแบบ

3. เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผนหรือกำหนดกิจกรรมที่ต้องการเรียนรู้

4. เปิดโอกาสให้เด็กนำเสนอผลงานทุกคน

5. ส่งเสริมให้เด็กแสดงความคิดหลายหลายด้านตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์

6. ส่งเสริมความสามารถที่จะนำไปสู่การคิดการกระทำอย่างสร้างสรรค์




รูปกิจกรรมในการเรียน 

















ประเมินอาจารย์ : สอนเข้าใจ มีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม เข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึก





วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน 2563
เวลา 12.30-16.30

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เรียนเรื่อง การเคลื่อนไหวเเละจังหวะ


การเคลื่อนไหวและจังหวะ

หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตามจังหวะอย่างอิสระ โดยจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียง-ทำนองเพลง เสียงปรบมือ เสียงเคาะไม้ กลอง รำมะนา คำคล้องจอง เป็นต้น มาประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้ จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้



วัตถุประสงค์ของการเคลื่อนไหวและจังหวะ


1. พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน

2. ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
3. ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนาน รื่นเริง โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย
4. สนองความต้องการตามธรรมชาติ ความสนใจและความพอใจของเด็ก
5. ให้เด็กเกิดความซาบซึ้งและมีสุนทรียภาพในการเคลื่อนไหวอย่างเสรีตามจังหวะ รวมทั้งเกิดทักษะ ในการฟังดนตรีหรือจังหวะต่างๆ
6. พัฒนาทักษะด้านสังคม การปรับตัว และความร่วมมือในกลุ่ม
7. ให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และให้เด็กได้มีโอกาสแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
8. พัฒนาภาษา ฝึกฟังคำสั่งข้อตกลง และปฏิบัติตามได้
9. ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี


ขอบข่ายเนื้อหาของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
การเตรียมร่างกาย
วิธีการศึกษาการเตรียมร่างกาย มี 2 ขั้น คือ
1. ให้รู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายว่าชื่ออะไร อยู่ตรงไหน และมีส่วนใดบ้างที่เคลื่อนไหวได้มากน้อย เพียงใด
2. ขณะเคลื่อนไหว ควรฝึกให้เด็กรู้ตัวว่าร่างกายหรืออวัยวะส่วนใดกำลังเคลื่อนไหวหรือทำอะไรอยู่
การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
การเคลื่อนไหวพื้นฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ การเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ณ จุดใดจุดหนึ่ง โดย ร่างกายจะไม่เคลื่อนออกไปจากจุดนั้นเลย
2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่ ได้แก่ การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การ กระโดด ฯลฯ


ตัวอย่างการฝึกการเคลื่อนไหวพื้นฐาน
1.การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
 ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
1) ก้มศรีรษะ กลับตั้งตรง หงายศีรษะไปข้างหลัง กลบสู่ท่าตรง
2) เหยียดแขนทั้งสองไปข้างหน้า ชูขึ้น กางออกแล้วกลับสู่ท่าตรง
3) ยกมือทั้งสองแตะไหล่ ชูมือขึ้น กางออกแล้วกลับสู่ท่าตรง
4) เคลื่อนไหวอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งอย่างอิสระ เมื่อได้ยินสัญญาณ ให้เปลี่ยนท่าใหม่โดย ไม่ให้ซ้ำกัน

2.การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
 1) การเดิน
 ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
- เดินไปรอบๆ บริเวณ โดยระวังไม่ให้ชนกัน
- เดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ให้จำนวนก้าวน้อยครั้งที่สุด ฯลฯ
2) การวิ่ง
 ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
- วิ่งไปให้ทั่วบริเวณโดยไม่ให้ชนกัน
- วิ่งไปข้างหน้าแล้ววิ่งถอยหลัง เมื่อได้ยินสัญญาณให้เปลี่ยนท่าสลับกัน ฯลฯ
3) การกระโดด
 ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
- ให้เด็กกระโดดขาเดียวไปรอบๆ บริเวณ โดยสลับขาบ้าง ให้เหวี่ยงแขน ขยับไหล่ หรือขยับ ร่างกายส่วนอื่นไปด้วย



รูปภาพการทำกิจกรรม





กิจกรรมโยคะ 






กิจกรรมคิดท่าประกอบเพลง








ประเมินอาจารย์ : สอนเข้าใจ มีการให้คำปรึกษา รับฟังปัญหาของนักศึกษา
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจทำงาน ส่งงานตรงเวลา 
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำงาน สนใจในการเรียน














วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2563
เวลา 12.30-16.30
ความรู้ที่ได้รับ

เรียนเกี่ยว ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย เเละอาจารย์ก็มีเพลง มาให้ดูและร้อง หลังจากนั้นลองให้เปลียนเนื้อเลงว่าเปลี่ยนเป็นอะไรได้บ้างเเละก็มีกิจกรรมมากมายมาให้ทำ

ความหมายการคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
                 ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่า เป็นความคิดที่สามารถในการสังเคราะห์สามารถในวิเคราะห์และและมีความสามารถในนำไปปฏิบัติได้มีลักษณะเป็นความรวมความคิดหลายทางและมีลักษณะคล้ายๆกับกระบวนการแก้ ปัญหามีความแตกต่างเพียงกระบวนการแก้ปัญหามีนั้นจะมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เด่นชัดเฉพาะเรื่องแต่กระบวนการคิดสร้างสรรค์ จำเป็นที่บุคคลจะต้องรู้จักจินตนาการและถ้าขาดจินตนาการก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาทางความคิดสร้างสรรค์ได้ความคิดสร้างสรรค์ประการสำคัญผู้คิดนั้นจะต้องไม่ทุกข์ ไม่มีความรู้สึกทุกข์ ไม่รู้สึกบีบคั้น คิดตามความเป็นจริง คิดตรงกับสภาพแห่งตามที่เป็นจริงนั้น ในความคิดสร้างสรรค์จะต้องสร้างความสุขด้วย จึงจะเป็นความสร้างสรรค์ เป็นความคิดสร้างสุข โดยมีธรรมฉันทะเป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการคิด

สมองกับการคิดของเด็กปฐมวัย
เด็กวัยทารกจนถึงสามขวบเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญมากในการพัฒนาศักยภาพทางสมอง เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งการเปิดรับข้อมูลการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกอย่างรวดเร็ว กล่าวกันว่าสมองของเด็กทารกมีการเรียนรู้มากกว่าการเรียนรู้ของผู้ใหญ่เป็นพัน ๆ เท่า เด็กเรียนรู้ ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลเข้าไปกระตุ้นสมองเด็กทำให้เกิดเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่าง ๆ อย่างมากมายซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่ายิ่งสมองเด็กมีเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อมากเท่าไร เด็กจะยิ่งฉลาดมากขึ้นเท่านั้น สมองจะทำหน้าที่นี้ต่อไปจนถึงอายุ 10 ปี จากนั้นสมองจะเริ่มกำจัดเครือข่ายเส้นใยสมองที่ไม่ได้ใช้ทิ้งไป เพื่อให้ส่วนที่เหลือมีความสามารถและมีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด
ความสำคัญสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย  
   การคิดที่ดี ควรมีลักษณะ ลึก กว้างไกล และสร้างสรรค์ คำว่า ลึก หมายถึง สิ่งที่มิใช่เพียงสัมผัส มีความเป็นไปได้และมีความชัดเจน กว่าง เป็นการสร้างภาพที่มีมุมมองอันเกิด จากการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ อย่างรอบครอบ ไกล เป็นการมองไปข้างหน้าในระยะยาว โดยคำนึงถึงสิ่งอันพึงปรารถนา ส่วนคำว่า สร้างสรรค์ นั้น เป็นการพิจารณาเพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำของมนุษย์และมีพลังอำนาจมากที่สุดเหนือสิ่งอื่นใดเสมอ ดังนั้น บุคคลจึงไม่เพียงแต่ต้องมีความเข้าใจในกระบวนการของความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ยังต้องการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนให้เป็นประโยชน์ รวมทั้งตองการให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
1. เป็นความคิด ประดิษฐ์ หรือการทำที่แปลกใหม่ เป็นผลงานที่ริเริ่มเอง ไม่มีตัวอย่างไว้ให้มีประโยชน์มีคุณค่า
2. เป็นความคิดหรือการกระทำที่แก้ปัญหาได้ โดยสามารถมองหาทางเลือกหลายทิศหลายทางในการแก้ปัญหา
3. เป็นความคิดริเริ่มที่แสดงออกอย่างมีหลักเกณฑ์ มีความคงทน และสามารถดัดแปลงพัฒนาไปจนถึงจุดที่สมบูรณ์ได้
บทบาทของผู้สอน
1. มีอารมณ์ที่แจ่มใส  มีใจคิดสร้างสรรค์

2. ร่วมแก้ปัญหาและให้เวลาในการค้นหาคำตอบของผู้เรียน
3. เป็นผู้ชี้แนะแนวทางการแก้ปัญหา
4. ใช้เทคนิคในการกระตุ้นให้ผู้เรียนหาคำตอบได้อย่างรวดเร็ว
5. ผู้เรียนมีผลงานนำไปเผยแพร่




รูปในการเรียน













ประเมินอาจารย์ : มีกิจกรรมให้ทำหลากหลายน่าสนใจ รับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆออกมาได้ดี ตรงต่อเวลาในการส่ง
ประเมินตนเอง : มุ่งมั่นในการทำงาน ส่งงานตรงเวลา 






วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันศุกร์ที่่ 3 เมษายน 2563
เวลา 12.30-16.30


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เรียน เรื่อง มาตราฐานการเรียนรู้ของการจัดการเรียนรู้แบบ STEM และดูกิจกรรมที่ให้ไปทำมาเมื่อ
อาทิตย์ที่เเล้ว

STEM คือ
    เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนการของทั้ง 4 สาระ อันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ ละสาระวิชาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนมาผสมผสานกันเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญแลจำเป็นเกิดจากการย่อชื่อตัวอักษรตัวแรกของ 4 สาระเข้าด้วยกัน นั่นคือ 




Science(วิทยาศาสตร์) จะเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (InquiryProcess) ที่จะประกอบด้วยขั้นตอน 
  1. ขั้นการสร้างความสนใจ เป็นขั้นของการนำเข้าสู่บทเรียน  
  2. ขั้นสำรวจและการค้นหา  
  3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป   
  4. ขั้นขยายความรู้ เป็นการนำความรู้มาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม ขึ้น 
  5. ขั้นการประเมิน เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่าผู้เรียนได้เกิดการ เรียนรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด

เทคโนโลยี (Technology) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2557) ระบุขั้นตอนในกระบวนการทางเทคโนโลยีประกอบด้วย 7 ขั้นดังนี้ 
  1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ 
  2. รวบรวมข้อมูล โดยอาจจะรวบรวมข้อมูลจากตำรา วารสาร บทความ อินเทอร์เน็ต 
  3. เลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการแก้ปัญหา 
  4. ออกแบบและปฏิบัติการ 
  5. ทดสอบ เป็นการตรวจสอบว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ 
  6. ปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นจะปรับแก้ไขส่วนใด 
  7. ประเมินผล เป็นการประเมินผลว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่

วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)  กระบวนการออกแบบของวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 
  1.กำหนดปัญหา หรือความต้องการ 
  2.หาแนวทางการแก้ปัญหา 
  3.ลงมือปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหา 
  4.ทดสอบและประเมินผล

คณิตศาสตร์ (Mathematics)  สำหรับสาระและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์จะครอบคลุมเรื่องจำนวนและกระบวนการ การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น และ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

            บทบาทของคณิตศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา การคิดเป็นเหตุเป็นผล ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสารและการนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้

ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มระดับการศึกษาปฐมวัย
           การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มระดับการศึกษาปฐมวัยผ่านการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Active Learning)  มี ความสำคัญต่อการพัฒนาสำหรับเด็กปฐมวัยในด้านต่างๆดังนี้ 

     1. พัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย ทักษะการคิด ทักษะทางคณิต ศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิด วิเคราะห์ ทักษะการใช้เทคโนโลยีและทักษะทางสังคม

      2. ส่งเสริมการทำกิจกรรมแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และ วิศวกรรมศาสตร์ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ด้วยตนเองในหัวข้อเรื่องที่เรียนรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อ พัฒนากำลังคนของประเทศตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัย 

    3. กระบวนการเรียนรู้เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เป็นหัวข้อเรื่องในชีวิตจริงของเด็ก สอดคล้องกับปรัชญา และแนวคิดทางการศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยตั้งคำถาม สืบค้นโดยใช้ ความสามารถในการสังเกต ช่วยเด็กคิดเกี่ยวกับกระบวนการในการทำงานของตน

     4. ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้มากที่สุด การจัดกิจกรรมเป็นการทำงาน แบบร่วมมือผ่านลักษณะกิจกรรมที่หลากหลาย ฝึกความมีวินัยและสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมใน กระบวนการทำงานแบบร่วมมือ 

     5. จัดบรรยากาศในชั้นเรียนส่งเสริมการกล้าแสดงออก การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 

     6. ส่งเสริมให้เด็กรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และ คณิตศาสตร์


บรรยากาศในการเรียน






ประเมินอาจารย์ : มีกิจกรรมให้ทำที่น่าสนใจ มีการกำหนดเวลาส่งงานที่ชัดเจน การสอนน่าสนใจ
ประเมินเพื่อน : ส่งงานตรงเวลา ตั้งใจเรียน ตั้งใจตอบคำถาม
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย เข้าเรียนตรงเวลา





วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2563
เวลา 12.30-16.30


ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้ เรียนเกี่ยวกับเรื่อง STEM และหลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้จับคู่ทำงาน เกี่ยวกับการทดลอง วิชา วิทยาศาสตร์และให้ส่งไฟลืเข้าไปในเฟสบุ๊ค 

STEM คือ

    เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนการของทั้ง 4 สาระ อันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ ละสาระวิชาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนมาผสมผสานกันเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญและจำเป็น


Science(วิทยาศาสตร์) จะเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (InquiryProcess) ที่จะประกอบด้วยขั้นตอน 
  1. ขั้นการสร้างความสนใจ เป็นขั้นของการนำเข้าสู่บทเรียน  
  2. ขั้นสำรวจและการค้นหา  
  3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป   
  4. ขั้นขยายความรู้ เป็นการนำความรู้มาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม ขึ้น 


  5. ขั้นการประเมิน เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่าผู้เรียนได้เกิดการ เรียนรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด

เทคโนโลยี (Technology) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2557) ระบุขั้นตอนในกระบวนการทางเทคโนโลยีประกอบด้วย 7 ขั้นดังนี้ 
  1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ 
  2. รวบรวมข้อมูล โดยอาจจะรวบรวมข้อมูลจากตำรา วารสาร บทความ อินเทอร์เน็ต 
  3. เลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการแก้ปัญหา 
  4. ออกแบบและปฏิบัติการ 
  5. ทดสอบ เป็นการตรวจสอบว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ 
  6. ปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นจะปรับแก้ไขส่วนใด 
  7. ประเมินผล เป็นการประเมินผลว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่

วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)  กระบวนการออกแบบของวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 
  1.กำหนดปัญหา หรือความต้องการ 
  2.หาแนวทางการแก้ปัญหา 
  3.ลงมือปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหา 
  4.ทดสอบและประเมินผล

คณิตศาสตร์ (Mathematics)  สำหรับสาระและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์จะครอบคลุมเรื่องจำนวนและกระบวนการ การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น และ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์



รูปในการเรียน

ในภาพอาจจะมี 6 คน, รวมถึง Jintana Suksumran


ในภาพอาจจะมี 5 คน, ข้อความ


กิจกรรมวิทยาศาสตร์คู่ 















ประเมินอาจารย์ : เนื้อหาน่าสนใจ มีการกระตุ้นนักศึกษาให้ตอบคำถาม อธิบายงานได้เข้าใจมีตัวอย่างให้ดู
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
ประเมินตนเอง : มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งงานตรงเวลา






วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2563
เวลา 12.30-16.30

ความรู้ที่ได้รับ

สัปดาห์นี้เป็นการเรียนทาง ออนไลน์ เนื่องทางติดสถานการณ์ COVID - 19 ทางมหาวิทยาลัยจึงมีการให้เรียนออนไลน์

วันนี้เรียนเกี่ยวกับเนื้อหาคำคล้องจอง โดยอาจารย์ให้เเบ่งกลุ่ม 3 คนทำงาน ตามที่กำหนดให้


งานเเรก นิทาน



งานที่ สอง เเต่งคำคล้องจอง



งานที่ สาม ปริศนาคำทาย



งานที่ สี่ กิจกรรมส่งเสริมการฟัง





ประเมินอาจารย์ : มีการเอาใจใส่นักศึกษา ให้คำแนะนะ คำปรึกษา สื่อการสอนน่าสนใจดึงดูด
ประเมินเพื่อน : สนใจเรียน มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
ประเมินตนเอง : สนใจเรียน จดบันทึกสิ่งที่สำคัญ









วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2563
เวลา 12.30-16.30


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์ โดยอาจารย์เปิดเพลง พรจากฟ้าที่มีท่าทาง และให้นักศึกษาไปคิดท่าทางเเต่ล่ะกลุ่ม โดยให้ใช้เพลง ปฐมวัยมาเเล้ว

เนื้อเพลง ปฐมวัยมาเเล้ว

ปฐมวัยมาเเล้ว       มาเเล้วปฐมวัยน้องพี่
ไหน ไหน ไหน             ปฐมวัยน้องพี่
            ปฐมวัยน้องพี่ไม่มีราวร้าน            โลหิตสายเดียวกลมเกลียวกันให้นาน
อย่าให้เเตกเเยกกันเป็นสายธาร       อย่าให้เเตกเเยกกันเป็นสายธารา




ประเมินอาจารย์ : เนื้อหาน่าสนใจ มีกิจกรรมให้ทำมากมาย สอนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงาน เข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินตนเอง :ตั้งใจในการทำงาน แต่งกายสุภาพ